ฟอสซิลของกรีนแลนด์เผยให้เห็นความเขียวขจีโบราณและภัยคุกคามจากสภาพอากาศ
ในปี พ.ศ.2536 มีทีมสำรวจเกาะกรีนแลนด์ได้ขุดเอาตะกอนหนาไม่กี่นิ้วจากแกนน้ำแข็งลึกราว 3.2 กิโลเมตรตรงใจกลางเกาะ และนำไปเก็บที่ National Science Foundation Ice Core Facility เมืองเลควูด รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เป็นเวลานานถึง 30 ปี ตอนนี้ ทีมวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา เผยการตรวจสอบ แกนน้ำแข็งดังกล่าวที่มีชื่อเรียกว่า GISP2 แล้วก็ได้คำตอบบางอย่าง
ทีมเผยว่าประหลาดใจมากเมื่อค้นพบดินที่มีซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลต้นหลิว ชิ้นส่วนแมลง เชื้อรา และเมล็ดป๊อบปี้ ในสภาพสมบูรณ์ผนึกอยู่ในแกนน้ำแข็ง ฟอสซิลเหล่านี้สวยงามมากก็จริง แต่บ่งบอกถึงอดีตที่น่าตกใจ เพราะสื่อถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ต่อการละลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ทีมวิจัยยืนยันว่าน้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลาย และเกาะแห่งนี้ยังเคยอุดมด้วยพืชพรรณเขียวชอุ่มในช่วงที่อากาศอบอุ่นก่อนหน้านั้นในอดีต ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นภายในล้านปีที่ผ่านมา พร้อมระบุว่าฟอสซิลเหล่านี้เผยให้เห็นว่าน้ำแข็งที่นั่นละลายไปในช่วง 416,000 ปีก่อน
ทั้งนี้ การวิจัยใหม่ครั้งนี้ยืนยันและขยายความว่าระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากในช่วงเวลาที่สาเหตุของภาวะโลกร้อนไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่หลักฐานจากอดีตเหล่านี้ เป็นการเตือนถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากมนุษย์ยังปล่อยให้ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นต่อไป.
ติดตามช่อง Youtube : Anton Petrov
ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath
ความคิดเห็น