อดีตเจ้าของ พลายศักดิ์สุรินทร์ เล่าที่มาบาดแผลของ พลายศักดิ์สุรินทร์ เกิดจากอะไร ถูกทรมานมานานกว่า 22 จริงหรือไม่ เตือนระวังถูกหลอกโอนเงินบริจาค
จากกรณีทางการทำได้ทำเรื่องขอตัว ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ ที่ถูกส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรีที่ศรีลังกาตั้งแต่ปี 2544 ต่อมาได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้แรงงานที่ค่อนข้างหนัก อีกทั้งไม่ได้รับการดูแลจนได้รับบาดเจ็บ เพื่อกลับคืนสู่บ้านเกิด โดยล่าสุดได้เคลื่อนไปฟื้นฟูสุขภาพที่สถาบันคชบาลแห่งชาติลำปาง ซึ่งเป็นศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยแล้วนั้น
อ่านข่าว : ภารกิจประวัติศาสตร์ ! พลายศักดิ์สุรินทร์ ถึงไทยแล้ว หลังถูกส่งไปศรีลังกาตั้งแต่ 9 ปี
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Phatcharaphorn Kookijtikasem
ล่าสุดวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Phatcharaphorn Kookijtikasem ซึ่งเป็นเจ้าของเก่าของ พลายศักดิ์สุรินทร์ ก่อนที่จะถูกส่งไปที่ศรีลังกา โพสต์ข้อมูลอีกด้านถึงกรณีที่มีการโหมข่าวว่า พลายศักดิ์สุรินทร์ ถูกทรมานมานับ 22 ปี และถูกใช้งานอย่างหนักหลังถูกส่งไปจากไทยว่า กระแสข่าวที่ระบุว่าช้างถูกทรมานมานับ 22 ปี เป็นเรื่องที่ผิด ก่อนอื่นต้องชี้แจงว่าโพสต์นี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำช้างกลับหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทางราชการ เพียงแต่อยากนำเสนอว่า พระที่วัดศรีลังกาเมตตาช้างมาก เมื่อช้างไปถึงได้รับการดูแลอย่างดี แต่สาเหตุที่ปัจจุบันช้างป่วยเพราะสาเหตุเกิดจากควาญช้างเก่าเสียชีวิต ควาญช้างใหม่ไม่รู้วิธีจัดการช้างตกมันที่ถูกต้อง จึงได้กลับมารักษาที่ไทย
ถ้าเทียบกับการเอาช้างไปลากซุงในไทย เรียกว่าช้างงาน ที่มีงาสั้นแล้ว การร่วมพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เป็นงานเบาปีนึงมีไม่กี่ครั้ง เช่นเดียวกับการในสุรินทร์ที่มีการบวชนาคช้าง ซึ่งเป็นการประกอบพิธีมงคลทางศาสนา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Phatcharaphorn Kookijtikasem
ทั้งนี้ ช้างลักษณะดีแบบนี้จะถูกเรียกว่าช้างบ้าน สังเกตุได้ว่างาช้างมีความสง่างามคงรูปเดิม หากทำงานหนักงาไม่มีทางยาวสวยได้ขนาดนี้ งาช้างคือของรักของช้างเลยค่ะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความบริสุทธิ์ เป็นมงคล จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่าทางศรีลังกาดูแลช้างได้อย่างดี ไม่มีการใช้งานเยี่ยงทาส
ส่วนแต่เรื่องแผลของช้าง ทราบว่าเกิดจากควาญช้างคนใหม่ที่ไม่รู้วิธีดูแลเหมือนควาญช้างเดิมที่เสียชีวิตไป และไม่มีการจัดการที่ถูกต้องในขณะที่ช้างตกมัน ด้วยธรรมชาติของพลายศักดิ์สุรินทร์มีความเชื่อง แสนรู้ตั้งแต่ยังเล็ก แทบไม่จำเป็นต้องใช้ตะขอ และโซ่ แต่การตกมันของช้างพลายที่มีร่างกายอุดมสมบูรณ์มากในช่วงเจริญพันธุ์ เป็นธรรมชาติสภาวะชั่วครั้งชั่วคราวในช้างพลาย ปีละ 1-3 ครั้ง อาจแสดงอาการดุร้าย และทำร้ายทุกสิ่งที่ขวางหน้า ควาญคนใหม่จึงควบคุมช้างไม่อยู่ เพราะขาดองค์ความรู้ในจุดนี้ จึงทำให้เกิดบาดแผลต่าง ๆ ตามร่างกาย
นอกจากนี้ที่ "วัดพระเขี้ยวแก้ว" หรือ วัดศรีทัลฒามัลลิกาววิหาร เป็นวัดสำคัญที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวาของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้รับขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก พระทันตธาตุเพียงองค์เดียว ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลังกา ถือเป็นบุญแก่พี่พลายศักด์สุรินทร์ และพลายศรีณรงค์ ของเราชาวไทย ที่ได้รับใช้ในการประกอบพิธีทางพุทธศาสนา ประชาชนทั่วสารทิศได้กราบสักการะบูชาตลอดขบวนแห่นี้ กราบสาธุในหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ พร้อมเตือนว่าห้ามโอนเงินบริจาคช่วยช้างเพราะไม่มีการเปิดรับบริจาคแต่อย่างใด
ขอขอบคุณ แหล่งที่มา : https://hilight.kapook.com/view/234491
ความคิดเห็น