สว.67 เสี่ยงล้มเหลว กฎคัดเลือกพิสดาร ประชาชนทั่วไปไม่มีส่วนร่วม
ทำไมยังต้องมี สว. จับตาคัดเลือก สว.67 เสี่ยงล้มเหลว ซ้ำรอยยุคแต่งตั้ง ที่ใช้งบประมาณจ่ายเงินเดือน จนครบวาระเฉลี่ย 3.6 พันล้านบาท และปมที่นำสู่เชื้อไฟวิกฤติการเมืองครั้งใหม่ จากความคิดที่แตกต่างของเจเนอเรชันในสังคมไทย
การคัดเลือก สว. ปี 2567 สูตรพิสดาร ผู้เชี่ยวชาญห่วงได้ผู้แทนสไตล์ “ฮั้วได้-จ่ายเงิน-หิวแสง” และหนีไม่พ้นร่างทรงกลุ่มการเมือง แต่ช่องโหว่ในกระบวนการคัดเลือกจะยิ่งก่อกำแพงความเห็นต่างด้านเจเนอเรชัน ที่บ่มรอยร้าวทางการเมืองคนรุ่นใหม่ ให้เกิดปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง
รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า กระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. เป็นครั้งแรกที่มีกระบวนการเลือกที่พิสดาร ซึ่งเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญปี 2560 และกฎหมายที่ว่าด้วยการคัดเลือก สว.ปี 2561 โดยการเลือกมี 3 ระดับคือ อำเภอ, จังหวัด, ประเทศ
การเลือกแต่ละระดับมีสองรอบ รอบแรก ผู้สมัครมีสิทธิเลือกได้ 2 โหวต ซึ่ง 1 คะแนนโหวตให้คนอื่น และอีก 1 คะแนน โหวตให้คนอื่นหรือตัวเองได้ เมื่อเลือกจบขั้นตอนแรกจะได้ สว.ตามอาชีพ เมื่อไปสู่การคัดเลือกรอบที่ 2 นำผู้ที่ผ่านคัดเลือกตามอาชีพ 20 กลุ่ม มาโหวตไขว้สายอาชีพ ขั้นตอนนี้จะได้ สว.ระดับอำเภอ ในกลุ่มอาชีพละ 3-5 คน
รับชมคลิปเต็มได้ที่ : thairath
ความคิดเห็น