ระวังโดนโกงช้อปปิ้งออนไลน์ ที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องระวัง
"ช้อปปิ้งออนไลน์" ถือว่าเป็นช่องทางที่สะดวกสบายที่สุดในการ ซื้อ–ขาย เพราะแค่มีอินเทอร์เน็ตกับแอปพลิเคชันสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน ก็สามารถทำได้อย่างสบายๆ ภายในเวลาไม่กี่นาที
เลย และด้วยความที่เราไม่ได้ทำการซื้อขายกับแม่ค้า หรือลูกค้าแบบตัวต่อตัวนี่เองจึงกลายเป็นโอ
กาสให้มิจฉาชีพจำนวนไม่น้อยเข้ามาใช้กลโกงสารพัดวิธีในการซื้อขายโดยเฉพาะการโกงภายใต้
ระบบออนไลน์ "ผู้ขาย-ผู้ซื้อ" หรือ "ลูกค้า" ซึ่งถ้าไม่สังเกตให้ดี ก็มีโอกาสพลาดให้คนเหล่านี้ได้
ง่ายวันนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่ามีกลโกงไหนบ้างที่เหล่ามิจฉาชีพออนไลน์มักจะชอบใช้กันบ่อยๆ
กลโกงจากผู้ขาย ( มิจฉาชีพ )
1. หลอกให้โอนเงินก่อนทุกวิธี
วิธีนี้นับว่าเป็นวิธีที่มิจฉาชีพใช้บ่อยสุดๆ เลยมิจฉาชีพจะอาศัยการขโมยรูปของคนอื่น เช่น facebook ,instagram,เป็นต้น มาแอบ
อ้างว่าเป็นของตนเอง แล้วขายต่อให้ผู้ซื้อ พอเหยื่อโอนเงินก็บ่ายเบี่ยงไม่ยอมส่งของหรือบล็อคช่องทางการติดต่อ ไม่ตอบข้อความ หรือที่แย่ที่สุดคือพอได้เงินจากเหยื่อก็ชิงตัดการติดต่อทุกช่องทางทันที ไม่ว่าจะเป็นการปิดบัญชีผู้ใช้ หรือปิดโทรศัพท์หนี ถ้าไม่อยากโดนเชิดเงินหนีไปง่ายแบบนี้ แนะนำให้เลือกซื้อสินค้าจากร้านที่ไว้ใจได้เท่านั้น หรือเช็คเครดิตผู้ขายผ่าน เว็บ CHECKKONG
2. ไม่ส่งของหรือส่งของที่ไม่ตรงปกมา
การซื้อของกับผู้ขายที่มีประวัติการส่งของให้ลูกค้าจริง ไม่ได้หลอกให้โอนเงิน ไม่ได้เป็นการการันตีว่าของที่เราได้รับจะเหมือนกับ
ของในรูปเสมอไปหรือสินค้าไม่ตรงปกนั่นเอง เพราะว่ามีอยู่บ่อยครั้งที่สินค้าที่ลูกค้าได้รับนั้นมีสภาพต่างกับในรูปอย่างสิ้นเชิงอย่างกับหนังคนละม้วนเลยทีเดียว หากใครโดนแบบนี้ ให้รีบติดต่อผู้ขายเพื่อหาทางชดเชยโดยด่วนหากผู้ขายไม่ยินยอมรับผิดชอบสามารถ
แจ้งดำเนินคดีได้ทันที
3. ขายของปลอม
วิธีนี้มักจะพบเห็นได้บ่อยๆ ในการซื้อขายของที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง หายากเช่น ทองคำ สินค้าแบรนเนม แก้วหวานเงินทอง หรือไม่ก็
สินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมมากๆ มิจฉาชีพจะอ้างว่าของที่ขายเป็นของแท้ จนเหยื่อเชื่อและตกลงซื้อไป สุดท้ายแล้วดันกลายเป็นของ
ปลอม ยิ่งเป็นของปลอมที่ตั้งราคาขายสูงเท่าของแท้ ยิ่งเจ็บใจเข้าไปใหญ่ ใครจะซื้อของที่เสี่ยงต่อการได้ของปลอม ก็อย่าลืมดูรีวิว
จากช่องทางการซื้อขายนั้นๆให้ดีด้วยละ
4. หลอกขายของไม่มีคุณภาพหรือของตกเกรดโรงงานที่มช้งานไม่ได้
มิจฉาชีพจะใช้การโปรโมทสินค้า อวดอ้างสรรพคุณสารพัด ใครเห็นก็อยากจะลองซื้อไปใช้ดูสักครั้ง แต่สุดท้ายเป็นสินค้าที่ไม่สามารถใช้งานได้หรอชำรุด หรือไม่ได้มาตรฐาน ถ้าใครหลงเชื่อขึ้นมาจะเสียเงินไปแบบฟรีๆ แล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วย เพราะฉะนั้นในการเลือกช้อปสินค้าแต่ละครั้งก็ควรดูความน่าเชื่อถือทั้งของตัวผู้ขาย และตัวสินค้าด้วย เพื่อความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ใช้หรือผู้บริโภค
เอง
แต่แน่นอนว่าถ้าผู้ขายเป็นมิจฉาชีพได้ ก็มีผู้ซื้อที่เป็นมิจฉาชีพเช่นกัน
ดังนั้นผู้ที่ขายของออนไลน์เองก็ควรระวังโจรที่แฝงตัวเข้ามาเป็นลูกค้า โดยกลโกงบางอย่างก็แนบเนียนอย่างคาดไม่ถึงเลยจริงๆการ
ใช้คำพูดกลับไปกลับมาอาจทำให้สับสนจนตกเป็นเหยื่อของผู้ซื้อที่เป็นมิจฉาชีพได้
กลโกงจากผู้ซื้อที่เป็นมิจฉาชีพ
1. ช่องทางการโอนธนาคารต่างๆ เช่น ส่งสลิปปลอม
หลายครั้งที่ผู้ขายไม่ได้ตรวจสอบสลิปจากลูกค้าให้ดี จนต้องอดได้เงิน หรือสลิปที่ผ่านการตัดต่อ ซึ่งถ้าไม่ดูให้ดีๆ ก็แทบจะไม่รู้เลย
ดังนั้นผู้ขายจึงไม่ควรประมาท และเช็กทุกครั้งว่ามีเงินเข้าบัญชีตามจำนวนที่ระบุไว้บนสลิปหรือไม่
2. หลอกหรือจ้างให้คนอื่นซื้อของแทน ความผิดจึงตกแก่คนซื้อที่ไม่รู้เรื่อง
เพราะความซับซ้อนของกลโกงแบบนี้ ทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนโดนหลอก แถมยังโดนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนโกงอีกด้วย
เนื่องจากมิจฉาชีพจะนำรูปสินค้าในร้านของเราไปแอบอ้างขายต่อให้ผู้อื่น โดยให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชีของร้าน เมื่อเหยื่อหลงเชื่อโอนเงิน มิจฉาชีพจึงขโมยสลิปมาใช้ซื้อของกับผู้ขายอีกที เพื่อให้ร้านส่งของให้ตนเองแทนพอเหยื่อรู้ตัวก็จะเข้าใจผิดว่าเราคือมิจฉาชีพ
เพราะเป็นเจ้าของบัญชี ทั้งๆ ที่มิจฉาชีพตัวจริงได้ชิ่งหนีไปพร้อมกับสินค้าเรียบร้อยแล้ว
3. หลอกว่าไม่ได้ของเพื่อจะรับเงินคืนหรือรับของอีกอบ
การที่ผู้ขายต้องรับผิดชอบสินค้าเมื่อผู้ซื้อเกิดความไม่พึงพอใจขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่ร้านค้าส่วนใหญ่รับผิดชอบกัน แต่ก็มักจะมีลูกค้าเป็น
(มิจฉาชีพ)ที่คอยอาศัยความใจดีของผู้ขายโดยอ้างว่าไม่ได้รับของที่ซื้อ หรือบอกว่าได้สินค้าไม่ครบหรือสินค้าพังชำรุด เพื่อให้ผู้ขายส่งสินค้าไปให้ใหม่ เลยกลายมาเป็นสาเหตุที่ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจำเป็นต้องหันมาใช้นโยบายการเคลมสินค้าโดยการ
ให้ลูกค้าถ่ายวิดีโอขณะเปิดกล่องพัสดุนั่นเอง
ความคิดเห็น